หน้าหลัก

ภาษาไทย ม.1 เรื่อง ชนิดของคำ


คำในภาษาไทยจำแนกได้ 7 ชนิด

คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน และคำอุทาน

1.คำนาม คือคำที่ใช้เรียนชื่อคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ แบ่ง 5 ชนิด ได้แก่

1.สามานยนาม คือคำนามที่เป็นชื่อทั่ว ๆ ไป เช่น หนู ไก่ โต๊ะ บ้าน คน

2.วิสามานนาม เป็นชื่อเฉพาะ เช่น นายทอง เจ้าดำ ชื่อวัน ชื่อเดือน ชื่อจังหวัด ชื่อประเทศ ชื่อแม่น้ำ ชื่อเกาะ

3.สมุหนาม คือ คำนามที่บอกความเป็นหมวดหมู่ เช่น ฝูง โขลง กอง

4.ลักษณนาม คือคำนามที่บอกลักษณะของนาม เช่น ภิกษุ 4 รูป นาฬิกา 4 เรือน

5.อาการนาม คือ คำนามเบอกกิริยาอาการในภาษา มักใช้คำว่า “การ” หรือ “ความ” นำหน้า เช่น การนั่งการกิน ความดี ความจน

2.คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนคำนาม หรือข้อความที่กล่าวมาแล้ว เพื่อไม่ต้องกล่าวนามนั้นซ้ำ เช่น ผม ฉัน หนู เธอ คุณข้าพเจ้า เขา ท่าน มัน เป็นต้น แบ่งเป็น 6 ชนิดได้แก่

1.บุรุษสรรพนาม คือ คำสรรนามที่ใช้ในการพูด มี 3 ชนิด

สรรพนามบุรุษที่ 1 ใช้แทนผู้พูด เช่น ผม ฉัน ข้าพเจ้า

สรรพนามบุรุษที่ 2 ใช้แทนผู้ฟัง เช่น คุณ เธอ

สรรพนามบุรุษที่ 3 ใช้แทนผู้กล่าวถึง เช่นเขา มัน

2.ประพันธสรรพนาม คือคำสรรพนามที่ใช้แทน(เชื่อม)คำนามที่อยู่ข้างหน้า ได้แก่ คำว่า ที่ ซึ่ง อัน

เช่น คนที่ออกกำลังกายเสมอร่างกายมักแข็งแรง

3.นิยมสรรพนาม คือ คำสรรพนามที่ใช้แทนนามที่ชี้เฉพาะเจาะจง หรือชี้ระยะ ได้แก่ นี่ นั่น โน่น หรือ นี้ นั้น โน้น

เช่น โน่นของเธอ ของเธออยู่ที่นี่

4.อนิยมสรรพนาม ได้แก่สรรพนามที่แทนนามที่ไม่ชี้เฉพาะเจาะจงและไม่ได้กล่าวในเชิงถาม หรือสงสัย ได้แก่ ใคร อะไร ไหน ใด

เช่น ใครขยันก็สอบผ่านได้

5.ปฤจฉาสรรพนาม คือสรรพนามใช้เป็นคำถาม ได้แก่ อะไร ใคร ที่ไหน แห่งใด ฯลฯ

เช่น ใครอยู่ที่นั่น ไหนละโรงเรียนของเธอ

6.วิภาคสรรพนาม คือคำสรรพนามที่ใช้แทนคำนามเพื่อบอกความชี้ช้ำ แบ่งพวก รวมพวก

เช่น นักเรียนต่างก็อ่านหนังสือ, เขาตีกัน

7.สรรพนามที่ใช้เน้นนาม เป็นคำสรรพนามที่เน้นคำนามที่อยู่ข้างหน้า เพื่อบอกความรู้สึกของผู้พูดที่มีอยู่ข้างหน้า

เช่น คุณยายท่านชอบดูละครเวทีมาก

3.คำกริยา คือ คำแสดงอาการของนาม สรรพนาม แสดงการกระทำของประโยค เช่น เดิน วิ่ง เรียน อ่าน นั่ง เล่น เป็นต้น แบ่งเป็น 4 ชนิด

1.สกรรมกริยา คือ คำกริยาที่ต้องมีกรรมรับ

เช่น ฉันกินข้าว เขาเห็นนก

2.อกรรกริยา คือคำกริยาที่ไม่ต้องมี่กรรมมารับก็ได้ความสมบูรณ์

เช่น เขานั่ง เขายืน

3.วิกตรรถกริยา คือ คำกริยาที่ไม่มีความหมายในตัวเอง ใช้ตามลำพังแล้วไม่ได้ความ ต้องมีคำอื่นมาประกอบ ได้แก่ เหมือน เป็น คล้าย เท่า คือ เช่น คนสองคนนี้เหมือนกัน ลูกคนนี้คล้ายพ่อ

4.กริยานุเคราะห์ คือ คำกริยาที่ไม่มีความหมายในตัวเอง ทำหน้าที่ช่วยกริยาอื่นให้มีความหมายชัดเจนขึ้น ได้แก่ จง กำลัง จะ ย่อม คง ยัง ถูก นะ เถอะ เทอญ เช่น แดงจะไปโรงเรียน เขาถูกตี

4.คำวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ขยายคำอื่นให้ได้ใจความชัดเจนยิ่งขึ้น แบ่งออกเป็น 10 ชนิด คือ

1.ลักษณะวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์บอกลักษณะ เช่น สูง ใหญ่ ดำ อ้วน ผอม แคบ หวาน เค็ม กว้าง

2.กาลวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์บอกเวลา เช่น เช้า สาย บ่าย เย็น ดึก เดี๋ยวนี้ โบราณ

3.สถานวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์บอกสถานที่ เช่น ใกล้ ไกล บน ล่าง

4.ประมาณวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์บอกจำนวน หรือปริมาณ เช่น หนึ่ง สอง น้อย มาก ทั้งหมด ทั้งปวง บรรดา

5.นิยมวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์แสดงความชี้เฉพาะเจาะจง เช่น นี่ นี้ โน่น นั้น

6.อนิยมวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์แสดงความไม่ชี้เฉพาะเจาะจง เช่น ทำไม อะไร ใคร

7.ปฤจฉาวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์แสดงบอกคำถาม เช่น แม่จะไปไหนม, เธออายุเท่าไหร่

8.ประติชญาวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์แสดงการเรียกร้อง ขานรับ หรือแสดงความสุภาพ เช่น คะ ครับ จ้ะ จ๋า ขา ฯลฯ

9.ประติเพธวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์แสดงความปฏิเสธ เช่น ไม่ ไม่ใช่ หามิได้ บ่

10.ประพันธวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมประโยค เช่น ที่ ซึ่ง อัน

5.คำบุพบท คือ คำที่ใช้นำหน้าคำอื่นแบ่งออกเป็น 2 พวก คือ

1.ไม่เชื่อมกับบทอื่น ได้แก่ คำทักทาย หรือร้องเรียน เช่น ดูกร ข้าแต่ อันว่า แน่ะ เฮ้ย

2.เชื่อมกับบทอื่น ได้แก่ โดย ของ บน กับ แก่ ต่อ เช่น นกเกาะอยู่บนต้นไม้ม ประธานนักเรียนเสนอโครงการต่ออาจารย์ใหญ่

คำบุพบทสามารถแย่งได้ 4 ชนิด คือ

1.คำบุพบทบอกเวลา เช่น เมื่อ ตั้งแต่ จนกระทั่ง ภายหลัง

2.คำบุพบทบอกสถานที่ เช่น บน ได้ นอก ใน ใกล้ ไกล

3.บุพบทแสดงความเป็นเจ้าของ เช่น ของ แห่ง

4.บุพบทบอกจุดมุ่งหมายหรือความเกี่ยวข้อง เช่น กับ แก่ แค่ โดย

6.คำสันธาน คือ คำเชื่อมคำ หรือประโยคเชื่อมประโยคให้ต่อเนื่องกัน มี 3 ลักษณะ คือ

1.เชื่อมคำกับคำ เช่น พี่กับน้อง เขียนกับอ่าน ลูกและหลาน

2.เชื่อมคำกับกลุ่มคำ เช่น คุณแม่และญาติ ๆ

3.เชื่อมประโยคกับประโยค เช่น พี่อยากไปเที่ยวแต่ฉันอยากอ่านหนังสือ

คำสันธานมี 4 ชนิด

1.คล้อยตามกัน เช่น พอล้างมือเสร็จก็ไปรับประทานอาหาร

2.ขัดแย้งกัน เช่น แม้เขาจะขยันแต่ก็เรียนไม่สำเร็จ

3.เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เธอจะอ่านหนังสือหรือจะเล่น

4.เป็นเหตุเป็นผลกัน เช่น เพราะรถติดเขาจึงมาสาย

7.คำอุทาน คือคำที่เปล่งออกมาบอกอาการ เพือแสดงอารมณ์ ความรู้สึกของผู้พูดแบ่งออกเป็น 2 ชนิด

1.อารมณ์ความรู้สึก หลังคำอุทานชนิดนี้ มักจะใช้เครื่องหมาย อัศเจรีย์ ( ! ) กำกับข้างหลัง เช่น อุ๊ย ! พุทโธ่ ! ว๊าย! โอ้โฮ! อนิจจา

2.อุทานเสริมบท เป็นคำพูดเสริมเพื่อให้เกิดเป็นคำที่สละสลวยขึ้น เช่น รถรา กระดูกกระเดี้ยว วัดวาอาราม