หน้าหลัก

วิชาภาษาไทย ม.1 เรื่อง สำนวนที่เป็นคำพังเพยและสุภาษิต


ความหมายของสำนวนสุภาษิต

สำนวน

สำนวน เป็นคำกล่าวที่คมคาย กะทัดรัดงดงาม และฟังดูไพเราะจับใจ รวมเนื้อความของเรื่องยาว ๆ ให้สั้นลง สำนวนเป็นคำกล่าวที่ใช้ถ้อยคำเพียงเล็กน้อย แต่กินความหมายลึกซึ้ง

สำนวน คือคำที่พูดออกมาในลักษณะเปรียบเทียบ และจะฟังไม่เข้าใจในทันทีต้องแปลความหมายก่อน

สุภาษิต

สุภาษิต หมายถึง คำกล่าวที่ดีงาม เป็นคำสั่งสอนที่มุ่งแนะนำให้ปฏิบัติ ให้ประพฤติดี ประพฤติชอบ หรือให้ละเว้น

คำสุภาษิตมักจะมาในรูปแบบของสำนวนโวหาร หรือคำพังเพย เมื่อฟังแล้วบางครั้งมักจะไม่ค่อยได้ความหมายในตัวของมันเองเท่าไหร่นัก แต่ต้องนำไปประกอบกับเหตุการณ์หรือตัวบุคคล จึงจะได้ความหมายที่เป็นคติเตือนใจ คำสุภาษิตมีอยู่ด้วยกันสองประเภทคือ

คำสุภาษิตที่ฟังแล้วเข้าใจได้ทันที โดยที่ไม่ต้องแปลความหมายให้เข้ากับสถานการณ์นั้นๆ เช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว คำสุภาษิตที่ฟังแล้วไม่เข้าใจในทันที ต้องแปลความหมายของมันให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆก่อนถึงจะทราบถึงความหมายและแนวสอนของคำสุภาษิตนั้นๆ เช่น ผีบ้านไม่ดี ผีป่าก็พลอย

ตัวอย่างสำนวนสุภาษิต เช่น

  • กงเกวียนกำเกวียน ความหมาย ทำอะไรกับใครไว้ ย่อมได้รับผลกรรมนั้น

  • กบในกะลาครอบ ความหมาย มีความรู้หรือประสบการณ์น้อยมักนึกว่าตัวรู้มาก

  • ขิงก็รา ข่าก็แรง ความหมาย ต่างคนต่างอารมณ์ร้อนพอกัน ต่างคนต่างไม่ยอมกัน

  • เข็นครกขึ้นภูเขา ความหมาย ทำงานที่ยากลำบากต้องใช้ความเพียรพยายามและอดทนมาก

  • ชักใบให้เรือเสีย ความหมาย พูดหรือขวางให้การสนทนาออกนอกเรื่อง

  • ตักบาตรอย่าถามพระ ความหมาย จะให้อะไรแก่คนอื่น อย่าไปถามเขาว่าเอาไหม อยากได้ไหม

  • ตักน้ำรดหัวตอ ความหมาย แนะนำเท่าไร พร่ำสอนเท่าไร ก็ไม่ได้ผล

  • นกสองหัว ความหมาย ทำตัวเข้ากับทั้ง 2 ฝ่ายที่เขาไม่ถูกกัน โดยหวังประโยชน์เพื่อตน

  • ผักชีโรยหน้า ความหมาย ทำความดีเพียงผิวเผิน

  • เส้นผมบังภูเขา ความหมาย เรื่องง่าย ๆ แต่คิดไม่ออก เหมือนมีอะไรมาบังอยู่

  • หน้าสิ่วหน้าขวาน ความหมาย อยู่ในระยะอันตราย เพราะอีกฝ่ายหนึ่งกำลังโกรธ

  • เอาหูไปนา เอาตาไปไร่ ความหมาย แสร้งทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น ไม่สนใจ