หน้าหลัก

สังคมศึกษา ม.2 เรื่อง การออมและการลงทุน


การออมและการลงทุน

1. การออม

ความหมายและความสำคัญของการออม เป็นรายได้ที่เหลือจากรายจ่าย

ประเภทของการออม แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

การออมทางตรง ไม่ต้องผ่านตัวกลางทางการเงิน จะอยู่ในตลาดเงิน และ ตลาดทุน การออมทางอ้อม โดยเสนอโดยตัวกลางทางการเงินในตลาด ซึ่งมีการจัดกลุ่ม เป็น

    – การออมแบบไม่ผูกพัน
    – การออมแบบผูกพัน แบ่งเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ การออมภาคบังคับ การออมภาคสมัครใจ

ปัจจัยที่กำหนดการออม ได้แก่

    – การวางแผนการใช้เงินในอนาคต
    – ความมั่นคงของสถาบันการเงิน
    – อัตราดอกเบี้ย
    – ระยะเวลาการฝากเงิน
    – การคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยในอนาคต
    – เทคโนโลยี

2. การลงทุน

ความหมายและความสำคัญของการลงทุน เป็นการนำเงินที่มีไปซื้อหลักทรัพย์ทางการเงินซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

    – งานก่อสร้างใหม่
    – เครื่องจักรกลและอุปกรณ์การผลิตที่ผลิตใหม่
    – สินค้าคงคลัง

ประเภทของการลงทุน การลงทุนในประเทศไทยมี 2 ประเภท ได้แก่

การลงทุนทางตรง เป็นการลงทุนที่ใช้ระยะเวลายาว

การลงทุนทางอ้อม ซึ่งมีรูปแบบการลงทุน 3 ประเภท ได้แก่

    – การฝากธนาคาร มีความเสี่ยงในเรื่องผลตอบแทนของอัตราดอกเบี้ย
    – การลงทุนพันธบัตรและหุ้นกู้ ได้รับดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทน แต่มีอัตราสูงกว่าธนาคาร
    – การลงทุนหุ้นสามัญหรือตราสารทุนได้ผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล

ปัจจัยที่กำหนดการลงทุน

    – การเปลี่ยนแปลงของรายได้
    – อัตราดอกเบี้ย
    – เทคโนโลยี
    – นโยบายของรัฐและเสถียรภาพทางการเมือง
    – ปัจจัยอื่น ๆ

3. ปัญหาของการออมและการลงทุนในสังคมไทย

ปัญหาของการออม

    – รายได้ต่ำ ประชากรส่วนใหญ่ของไทยมีรายได้ไม่แน่นอน
    – ผลตอบแทนต่ำ เนื่องจากธนาคารกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากน้อย
    – ความไม่รู้ คือ ขาดความรู้เรื่องช่องทางในการเก็บออม
    – เป้าหมายของการออม

สาเหตุของการลดลงของเงินออมภาคครัวเรือนของไทย พ.ศ. 2551 มีดังนี้

    – การขาดความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
    – ภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น
    – นโยบายของภาครัฐ

ปัญหาของการลงทุน

    – ผลิตภาพการผลิต
    – การพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ
    – โครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง
    – การให้สิทธิพิเศษทางการค้า

4. การบริหารจัดการเงินออมและการลงทุนภาคครัวเรือน

การประเมินสถานการณ์ของตนเอง

    – การกำหนดเป้าหมายทางการเงิน
    – การจัดทำแผนการเงิน
    – การปฏิบัติตามแผน
    – การติดตามวัดผล
    – การปรับแผน
    

วิธีการบริหารจัดการการลงทุน

    – การรวบรวมข้อมูลทางการเงิน
    – การกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์
    – การวางแผนปฏิบัติการ
    – การปฏิบัติตามแผนที่วางไว้
    – การติดตามและทบทวนการลงทุน

cr. ความรู้จาก สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช