เศรษฐกิจพอเพียง
1. หลักการและเป้าหมายปรัชญาของเศรษฐกิจ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักคิดโดยชี้ถึงแนวทางการปฏิบัติและหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิตไปสู่ความความก้าวหน้า ซึ่งปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณา 5 ประการ คือ
– กรอบแนวคิด แนะแนวทางวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทยที่ประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา
– คุณลักษณะ นำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ
– คำนิยาม ของความพอเพียง
– เงื่อนไข การตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ
– แนวทางปฏิบัติ ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2. การผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่น
แนวทางการผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่น จะสร้างรายได้และสร้างโอกาสให้สมาชิก เรียกว่า กลุ่มอาชีพ ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ กลุ่มอาชีพที่ไม่เป็นนิติ และ นิติบุคคล ซึ่งแบ่งเป็น 2 ด้าน ได้แก่ – ด้านการเกษตร มีการผลิตสินค้าและแปรรูป – ด้านอุตสาหกรรมในครัวเรือนและหัตถกรรมไทย
ปัญหาการผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่น
ด้านการเกษตร ได้แก่
– ปัญหาความไม่แน่นอนของราคาและปริมาณ
– ปัญหาความยากจนของเกษตรกร
– ปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกิน
– ปัญหาสิ่งแวดล้อม
– ปัญหาการขาดตลาดรับซื้อสินค้า
ด้านอุตสาหกรรมในครัวเรือนและหัตถกรรมไทย ได้แก่
– ปัญหาการขาดความรู้
– ปัญหาการขาดแคลนเงินทุน
– ปัญหาการขาดตลาดรับซื้อสินค้า
– ปัญหาการขาดการอนุรักษ์
– ปัญหาการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรมที่รวดเร็วเกินไป
3. การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการผลิตสินค้าและบริการ
แนวทางการดำเนินงาน ได้แก่
– เศรษฐกิจพอเพียงกับการผลิตด้านการเกษตร ซึ่งการผลิตที่ดีต้องเป็นเกษตรพอเพียง เพิ่มรายได้ เป็นการสร้างรายได้นอกจากทางเกษตร และขยายโอกาส
– เศรษฐกิจพอเพียงกับการผลิตด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ทั้งด้านทุน ที่ดิน วัตถุดิบ เครื่องจักร และบุคลากร
cr.ความรู้จาก สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช