หลักฐานทางประวัติศาสตร์
1. ประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์
แบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่ หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งตามความสำคัญได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ หลักฐานชั้นต้น และหลักฐานชั้นรอง
2. หลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาและสมัยธนบุรี
** 2.1 หลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา**
- พระราชพงศาวดาร แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
- พระราชพงศาวดารที่ผ่านกระบวนการชำระ
- พระราชพงศาวดารที่ไม่ผ่านกระบวนการชำระ คือ พงศาวดารที่ให้ข้อมูลตามที่บันทึกไว้
- จดหมายเหตุโหร
- จดหมายเหตุชาวต่างชาติ
- วรรณกรรม
- หลักฐานทางโบราณคดี
2.2 หลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยธนบุรี
- พระราชพงศาวดาร เช่น พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา
- เอกสารชาวต่างชาติ เช่น ชิงสื่อลู่
- บันทึกจากเรื่องบอกเล่า
3. การตรวจสอบและประเมินหลักฐาน แบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่
3.1 การประเมินภายนอก พิจารณาจาก
- อายุของหลักฐาน
- ผู้สร้างหรือผู้เขียนหลักฐาน
- จุดมุ่งหมายของหลักฐาน
- รูปเดิมของหลักฐาน
3.2 การประเมินภายใน การประเมินภายใน คือ พิจารณาสาระ โดยเปรียบเทียบกับหลักฐานอื่น ว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
4. การตีความหลักฐาน
4.1 ประเภทของการตีความหลักฐาน มี 2 ลักษณะ คือ
- การตีความขั้นต้น ผู้ตีความควรมีพื้นฐานต่อไปนี้
- การใช้ถ้อยคำและสำนวนโวหาร
- อิทธิพลของทัศนคติ ค่านิยม และสภาพแวดล้อมในช่วงเวลาที่บันทึกหลักฐาน
- จุดมุ่งหมายของหลักฐาน
- การตีความขั้นลึก เป็นการตีความเพื่อหาความหมายที่แฝงอยู่ ซึ่งไม่ได้บอกตรง ๆ
4.2 ข้อควรปฏิบัติในการตีความหลักฐาน
- ตีความด้วยใจเป็นกลาง
- ตีความในขอบเขตของหลักฐาน
- ตีความตามยุคสมัยของหลักฐาน
4.3 ความสำคัญของการตีความหลักฐาน การตีความทำให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และนำไปเทียบเคียงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตได้ใกล้เคียงที่สุด
4.4 ลักษณะของข้อมูลที่ได้จากการตีความหลักฐาน
- ความจริง
- ข้อเท็จจริง
- ความคิดเห็น
ความคิดเห็นทางประวัติศาสตร์ ต้องเป็นความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญในส่วนนั้น ๆ หากนำไปอ้างอิงต้องระบุว่าเป็นความคิดเห็นของใคร มีความคิดเห็นอย่างไร เช่น ความคิดเห็นเกี่ยวกับศิลาจารึกของ ดร.ประเสริฐ ณ นคร
cr เนื้อหา.สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช