หน้าหลัก

วิชาสังคม ม.1 เรื่อง กฎหมาย


1.กฎหมายคุ้มครองเด็ก กำหนดให้มีคณะกรรมการคุ้มครองเด็ก 3 ระดับ ได้แก่ คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ คณะกรรมการคุ้มครองเด็กกรุงเทพมหานคร และคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด เพื่อทำหน้าที่ในการคุ้มครองเด็ก มีสาระสำคัญดังนี้

การสงเคราะห์เด็ก เด็กที่ได้รับการสงเคราะห์มีหลายประเภท ได้แก่

  • เด็กเร่ร่อน คือ เด็กที่ไม่มีผู้ปกครอง หรือมีแต่เลี้ยงดูไม่ได้
  • เด็กที่ผู้ปกครองไม่สามารถอุปการะเลี้ยงดูได้
    -เด็กที่ผู้ปกครองมีพฤติกรรมหรือประกอบอาชีพที่ไม่เหมาะสม
  • เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยมิชอบ คือ เด็กที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ
  • เด็กพิการ คือ เด็กที่มีความบกพร่อง
  • เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำเป็นต้องได้รับการสงเคราะห์ ได้แก่ เด็กที่กระทำความผิด หรือเด็กที่ศาล พนักงานอัยการ หรือพนักงานสอบสวนเห็นว่าต้องได้รับการสงเคราะห์

การคุ้มครองเด็ก เด็กที่ได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพมี 3 ลักษณะ ได้แก่

  • เด็กที่ถูกทารุณกรรม
  • เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด
  • เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำเป็นต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ

การปฏิบัติต่อเด็ก กฎหมายกำหนดวิธีการปฏิบัติต่อเด็กไว้ 3 ประการ คือ

  • ต้องให้เด็กได้รับประโยชน์สูงสุด
  • ต้องให้เด็กได้รับการอุปการะเลี้ยงดู
  • ต้องไม่ปฏิบัติต่อเด็กโดยมิชอบ

การส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา ได้แก่

  • การให้คำปรึกษาแนะนำ เพื่อให้มีความประพฤติที่เหมาะสม และเกิดความปลอดภัยแก่นักเรียนและนักศึกษา
  • การปฏิบัติตนตามระเบียบ ไม่ปฏิบัติสิ่งที่ไม่เหมาะสม

ประโยชน์ของการปฏิบัติตนตามกฎหมายคุ้มครองเด็ก

  • ประโยชน์ต่อตนเอง ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่ดีและเป็นภัย
  • ประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม หากลูกที่ดี ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนและสังคมก็อบอุ่นด้วย

2.กฎหมายการศึกษา

สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา

  • การจัดการศึกษา การศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี
  • หน้าที่ของบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง จะต้องให้บุตรหรือบุคคลในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับจำนวน 9 ปี
  • ผู้มีสิทธิในการจัดการศึกษา สถาบันทางสังคมอื่นมีสิทธิจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • สิทธิประโยชน์ของบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง รัฐบาลจะให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ
  • สิทธิประโยชน์ของผู้สนับสนุนหรือจัดการศึกษา มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ตามควร

ระบบการศึกษา มี 3 รูปแบบ คือ

การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน การศึกษาในระบบมี 2 ระดับ ได้แก่

  • การศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ การศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปี
  • การศึกษาระดับอุดมศึกษา แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับต่ำกว่าปริญญา และระดับปริญญา

การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่ยืดหยุ่นการกำหนดเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษา เหมาะสมกับความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ

แนวการจัดการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นระบบการศึกษาใด ต้องเน้นความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับ ดังนี้

  • ความรู้เกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม
  • ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร
  • ความรู้เกี่ยวกับศาสนา การกีฬา ศิลปวัฒนธรรม และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
  • ความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์และด้านภาษา
  • ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิต

ประโยชน์ของการปฏิบัติตนตามกฎหมายการศึกษา

  • ประโยชน์ต่อตนเอง มีจิตสำนึกด้านคุณธรรมและจริยธรรม
  • ประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม ประเทศชาติมีบุคลากรในการพัฒนาชาติให้เจริญต่อไป

3. กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค

** สิทธิของผู้บริโภค** ผู้บริโภคมีสิทธิได้รับความคุ้มครอง 5 ประการ ดังนี้

-สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ

  • สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ
  • สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ
  • สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา
  • สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย

การคุ้มครองผู้บริโภค

การคุ้มครองผู้บริโภคด้านการโฆษณา ได้แก่

  • ข้อความที่เป็นเท็จ
  • ข้อความที่ทำให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญ
  • ข้อความที่สนับสนุนให้กระทำผิด
  • ข้อความที่ทำให้ประชาชนแตกแยก
  • ข้อความอื่นตามที่กฎหมายกำหนด

การคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก ฉลากของสินค้าที่ควบคุมจะต้องมีลักษณะดังนี้

  • ให้ข้อมูลที่เป็นจริง
  • ต้องระบุชื่อเครื่องหมายการค้า
  • ต้องระบุ ราคา ปริมาณ วิธีใช้ ข้อแนะนำ ตำเตือน วัน เดือน ปีที่หมดอายุ

การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา กำหนดให้การประกอบธุรกิจรายใดที่กฎหมายกำหนดให้ทำเป็นหนังสือสัญญาต้องเป็นธรรมต่อลูกค้า **การคุ้มครองผู้บริโภคโดยประการอื่น **คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีสิทธิให้ผู้ประกอบการทำการทดสอบสินค้า **องค์กรที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค **มีรายละเอียดดังนี้

-คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จัดตั้งขึ้นเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้บริโภค

  • สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เป็นหน่วยงานภาครัฐที่ให้บริการแก่ผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิจากการใช้สินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ

ประโยชน์ของการปฏิบัติตนตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค

  • ประโยชน์ต่อตนเอง ได้แก่ ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรม และได้รับการชดเชยความเสียหาย
  • ประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม ให้ผู้ประกอบการทราบ เมื่อสินค้าถูกร้องเรียน สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจะให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการ

4. กฎหมายลิขสิทธิ์

ประเภทของงานลิขสิทธิ์ ได้แก่

งานที่มีลิขสิทธิ์ เป็นงานสร้างสรรค์ประเภทต่าง ๆ ได้แก่

  • งานวรรณกรรม
  • งานนาฏกรรม
  • งานศิลปกรรม
  • งานดนตรีกรรม
  • งานโสตทัศนวัสดุ
  • งานภาพยนตร์
  • งานสิ่งบันทึกเสียง
  • งานแพร่เสียงและภาพ
  • งานอื่น ๆ ในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ

งานที่ไม่มีลิขสิทธิ์ ได้แก่

  • ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริง
  • รัฐธรรมนูญและกฎหมาย
  • ระเบียบ ข้อบังคับ
  • พิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงาน
  • แปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ

การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ มีดังนี้

  • งานที่สร้างสรรค์ขึ้นในฐานะพนักงานหรือลูกจ้าง
  • งานที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยรับจ้างจากบุคคลอื่น
  • งานดัดแปลงงานที่มีลิขสิทธิ์
  • งานที่นำงานที่มีลิขสิทธิ์มารวบรวมหรือประกอบเข้ากัน โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์

การคุ้มครองลิขสิทธิ์ เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการกระทำการ ดังนี้

  • ทำซ้ำหรือดัดแปลง
  • เผยแพร่ต่อสาธารณชน
  • ให้เช่าต้นฉบับ
  • ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์
  • อนุญาตให้ผู้อื่น ทำซ้ำหรือดัดแปลง เผยแพร่

อายุในการคุ้มครองลิขสิทธิ์

  • งานทั่วไป ลิขสิทธิ์จะมีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และจะอยู่ต่อไปอีก 50 ปีนับจากผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย และยังคุ้มครองแยกตามประเภทของผู้สร้างสรรค์
  • งานภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง หรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพ ให้ลิขสิทธิ์มีอายุ 50 ปี แต่หากมีโฆษณา ให้ลิขสิทธิ์เวลา 50 ปี ตั้งแต่โฆษณา
  • งานศิลปประยุกต์ ให้ลิขสิทธิ์มีระยะเวลา 25 ปี ตั้งแต่วันที่โฆษณา
  • งานที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยการว่าจ้าง ให้ลิขสิทธิ์มีอายุ 50 ปี แต่หากมีโฆษณา ให้ลิขสิทธิ์มีระยะเวลา 50 ปี

ประโยชน์ของการปฏิบัติตามกฎหมายลิขสิทธิ์

  • ประโยชน์ต่อตนเอง เจ้าของลิขสิทธิ์มีแรงจูงใจในการผลิตหรือสร้างสรรค์ผลงานที่มีประโยชน์ต่อไป
  • ประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม ประชาชนได้รับความรู้และความบันเทิงจากผลงานคุณภาพ

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th