หน้าหลัก

วิชาสังคม ม.1 เรื่อง การบริโภค


การบริโภค แบ่งออกเป็น 2 เรื่อง ดังนี้

1.พฤติกรรมการบริโภค

ความหมายและความสำคัญของการบริโภค การบริโภค คือ รายจ่ายของครัวเรือนที่ใช้ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค มี 3 ประเภท คือ

  • การบริโภคสินค้าที่มีอายุการใช้งานนานหรือสินค้าคงทน
  • การบริโภคสินค้าที่มีอายุการใช้งานไม่นานหรือสินค้าไม่คงทน
  • การบริโภคบริการ

หลักการบริโภคที่ดี ควรคำนึงถึง

  • ประหยัด
  • ประโยชน์
  • คุณภาพและราคา
  • ปลอดภัย

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภค ได้แก่

  • รายได้ของผู้บริโภค
  • ราคาของสินค้าและบริการ
  • รสนิยมของผู้บริโภค
  • สังคมและสิ่งแวดล้อม
  • ฤดูกาล
  • การคาดคะเนเกี่ยวกับราคา

ค่านิยมและพฤติกรรมการบริโภคของคนในสังคมปัจจุบัน ได้แก่

  • ค่านิยมการทำบุญ
  • คนไทยมีนิสัยใจกว้าง
  • ค่านิยมกตัญญูต่อบุพการีหรือผู้มีพระคุณ
  • ค่านิยมต่อการดำรงชีวิตเรียบง่ายและประหยัด
  • ค่านิยมการมีสุขภาพที่ดี
  • ค่านิยมบริโภคนิยม
  • ค่านิยมฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย
  • ค่านิยมเลียนแบบต่างประเทศ

2.ทรัพย์สินทางปัญญา

ความหมายและความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญา

  • เป็นผลที่เกิดจากการคิดค้นโดยสมองของมนุษย์
  • องค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก ให้คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เพราะสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าหรือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์มักจะเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงดีและมีมูลค่าสูง

ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา มี 2 ประเภท ได้แก่

  • ลิขสิทธิ์ คือ ความคิดสร้างสรรค์ในสาขาวรรณกรรม ดนตรีกรรม ศิลปกรรม งานภาพยนตร์ งานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์
  • ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม คือ ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม การประดิษฐ์ หรือการออกแบบแก้ไขผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

กฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ในไทยมี 7 ฉบับ ดังนี้

พระราชบัญญัติสิทธิบัตร สิทธิบัตรมี 2 ประเภท

  • สิทธิบัตรการประดิษฐ์ คือ หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการคิดค้นเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่หรือทำให้กรรมวิธีดีขึ้น
  • สิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์ คือ หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองรูปร่างของผลิตภัณฑ์หรือองค์ประกอบของลวดลายหรือสีของผลิตภัณฑ์

พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า ลักษณะเครื่องหมาย 4 ประเภท ได้แก่ -เครื่องหมายการค้าคือเครื่องหมายที่ใช้กับสินค้าแสดงให้เห็นว่าต่างจากสินค้าของผู้อื่น

  • เครื่องหมายบริการ คือ เครื่องหมายที่ใช้กับบริการแสดงให้เห็นว่าต่างจากบริการของผู้อื่น
  • เครื่องหมายรับรอง คือ เครื่องหมายที่มีเจ้าของให้ผู้อื่นใช้เครื่องหมายของตนเองเพื่อรับรองคุณภาพ
  • เครื่องหมายร่วม คือ เครื่องหมายการค้าหรือบริการที่ใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจ

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ให้ประโยชน์ในการคุ้มครองแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ในการทำซ้ำหรือดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน

พระราชบัญญัติคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม แบบผังภูมิมี 2 ประเภท ได้แก่

  • แบบผังภูมิที่สร้างขึ้นเอง
  • แบบผังภูมิที่สร้างขึ้นใหม่

กำหนดให้ผู้ออกแบบผังภูมิของวงจรรวมเป็นผู้ทรงสิทธิบัตรในแบบผังภูมิแต่เพียงผู้เดียว 10 ปี มีสิทธิทำซ้ำ นำมาในราชอาณาจักร ขาย หรือเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์ หรืออนุญาต โอนสิทธิให้ผู้อื่นใช้สิทธิตน

พระราชบัญญัติความลับทางการค้า ได้ส่งเสริมการประกอบธุรกิจให้เป็นไปอย่างเสรีและป้องกันมิให้เกิดการกระทำอันไม่เป็นธรรมในการประกอบธุรกิจ

พระราชบัญญัติสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ป้องกันมิให้ประชาชนสับสนหรือหลงผิดแหล่งภูมิศาสตร์ของสินค้า

**พระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี ** เป็นสิ่งที่กำกับให้ผู้ประกอบธุรกิจดำเนินการผลิตสินค้าที่ถูกกฎหมาย และป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์

การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา คือ การกระทำซ้ำ ดัดแปลง ขาย ให้เช่า คัดลอก เลียนแบบ แจกจ่ายในลักษณะที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ โดยไม่ได้รับการอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์

ลักษณะการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เป็นขบวนการอาชญากรรมทั้งที่เป็นคนไทยและคนต่างชาติ โดยจัดตั้งโรงงานผลิตซีดีละเมิดลิขสิทธิ์

รูปแบบและแนวโน้มการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา มีดังนี้

  • การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ทำได้ง่ายและต้นทุนต่ำ
  • การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต โหลดภาพยนตร์ได้ง่าย ทำได้ทุกที่

วิธีการซื้อขายสินค้าที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ผู้ขายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์มีวิธีการซื้อขายสินค้า

ผลของการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

  • การได้รับสินค้าปลอม
  • การขาดผู้สร้างสรรค์ผลงาน
  • การขาดรายได้ของรัฐ
  • การใช้เงินที่ได้ไปกระทำความผิดอื่น
  • การลงทุนไม่ต่อเนื่อง
  • การกีดกันทางการค้า

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช