หน้าหลัก

สังคมศาสนา ม.1 เรื่อง การปฏิบัติตนเป็นชาวพุทธที่ดี


1. หน้าที่ชาวพุทธ

บำเพ็ญประโยชน์และการบำรุงรักษาวัด ปฏิบัติดังนี้

– รักษาความสะอาด

– ดูแลทรัพย์สินในวัด

– รักษาวัดให้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์

– บริจาคทรัพย์สิน

– ร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา

ปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อเพื่อนตามหลักพระพุทธศาสนา

เราต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน จึงต้องพิจารณาการคบเพื่อน พระพุทธศาสนาได้ระบุลักษณะของเพื่อนที่จะเป็นเพื่อนแท้และเพื่อนเทียม ดังนี้

– เพื่อนแท้ เป็นมิตรที่มีน้ำใจ – เพื่อนเทียม เป็นเพื่อนที่เหมือนศัตรูแฝงมาในร่างมิตร จึงควรหลีกเลี่ยง ไม่คบหาสมาคม

การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อศาสนิกชนของศาสนาต่าง ๆ

ศาสนาอิสลาม

– เรียกศาสนิกชนว่า อิสลามิกชน หรือ มุสลิม

– ผู้ทำหน้าที่เหมือนนักบวชเรียกว่า อิหม่าม

คริสต์ศาสนา

– เรียกศาสนิกชนว่า คริสต์ศาสนิกชน หรือคริสตัง และคริสเตียน

– นักบวชคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกเรียกว่า บาทหลวง

ศาสนาพราหมณ์–ฮินดู

– เรียกศาสนิกชนว่า พราหมณ์

เพื่อจะอยู่ร่วมกันในสังคมกับศาสนิกชนศาสนาอื่นอย่างสันติสุข ปฏิบัติดังนี้

– ให้เกียรติและเคารพกัน

– สุภาพ

– รู้จักกาลเทศะ

– เข้าใจกัน

บุคคลที่เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตนด้านนี้ เช่น

– พระธรรมโกศาจารย์ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ยกย่องให้เป็น

บุคคลสำคัญของโลกด้านส่งเสริมขันติธรรม สันติธรรม วัฒนธรรม ความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีของมวลมนุษย์

2. มารยาทชาวพุทธ ได้แก่

การเรียนรู้วิถีชีวิตของพระสงฆ์ มี 2 ประเภท คือ

– อริยสงฆ์ คือ พระภิกษุที่บรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคล

– สมมติสงฆ์ คือ พระภิกษุที่บวชถูกต้องตามพระธรรมวินัย

การเรียนรู้บทบาทของพระสงฆ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

– การแสดงธรรม

– การปาฐกถาธรรม

– การปฏิบัติเป็นแบบอย่าง

เพื่อให้ชาวบ้านเกิดประโยชน์ 6 ประการ ได้แก่

– ให้เห็นโทษความชั่ว

– ให้เห็นคุณความดี

– ไม่หวังผลตอบแทน

– ให้ได้ยินได้ฟังเรื่องที่ศึกษามา

– อธิบายให้กระจ่าง

– แนะนำให้ดำเนินชีวิตดีและเกิดประโยชน์

การปฏิบัติตนที่เหมาะสม ได้แก่

– การเข้าพบพระสงฆ์

ขณะสนทนากับพระเถระผุ้ใหญ่เราควรประนมมือ

– การแสดงความเคารพ

การไหว้พระสงฆ์เมื่อท่านเดินผ่านมา

– มารยาทในการฟัง

ขณะที่ฟังพระสงฆ์เจริญพุทธมนต์เราควรประนมมือ ตั้งใจฟัง และอยู่ในความสงบ

3. ศาสนพิธี เป็นพิธีกรรมทางศาสนา ที่แสดงวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ ซึ่งประกอบด้วย

– การจุดธูปเทียน

– การจัดโต๊ะหมู่บูชาและเครื่องประกอบโต๊ะหมู่บูชา
– การอาราธนาต่าง ๆ

4. วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

ประวัติและความสำคัญของวันธรรมสวนะและเทศกาลสำคัญ

– วันธรรมสวนะ หรือ วันพระ หนึ่งเดือนมี 4 วัน คือ วันขึ้น 8 ค่ำ วันขึ้น 15 ค่ำ วันแรม 8 ค่ำ และวันแรม 15 ค่ำ เป็นวันที่ชาวพุทธทำความดี ละเว้นความชั่ว และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ – วันเข้าพรรษา เป็นวันที่พระสงฆ์ประจำที่ใดที่หนึ่ง 3 เดือน
– วันออกพรรษา พระสงฆ์ที่จำพรรษาครบ 3 เดือน จะทำพิธีออกพรรษา – วันเทโวโรหนะ เป็นการตักบาตรใหญ่

cr. www.trueplookpanya.com