การทำสังคายนา
สังคายนา มาจากคำว่า สำ อันหมายถึง “ร่วมกัน พร้อมกัน” ประกอบกับคำว่า “คายนา” ที่หมายถึงการสวดการสาธยาย
สังคายนา หมายถึง “การร้อยกรอง” หรือ “การจัดหมวดหมู่” ของพระธรรมวินัย
การทำสังคายนา มีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดหมวดหมู่พระธรรมวินัยให้เป็น ระบบและเกิดความเข้าใจที่ตรงกัน
การสังคายนา ครั้งที่ 1
สาเหตุ : พระภิกษุชื่อ สุภัททะ ได้กล่าววาจาใน ทำนองดูหมิ่นพระพุทธองค์ พระมหากัสสปะ จึงเรียกประชุมพระสงฆ์เพื่อกระทำการ สังคายนา
การสังคายนา ครั้งที่ 2
สาเหตุ : ภิกษุกลุ่มหนึ่งชื่อว่า พระวัชชีบุตร ได้ปฏิบัติหย่อนทางวินัย
การสังคายนา ครั้งที่ 3
สาเหตุ : มีพวกนอกศาสนาปลอม เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนามากขึ้นทำให้ พระพุทธศาสนามัวหมอง พระโมคคัลลีบุตร ติสสเถระเห็นว่าอาจท าให้ศาสนามัวหมองได้ จึงได้สังคายนา ชำระสะสางพระพุทธศาสนา ให้บริสุทธ์
การสังคายนา ครั้งที่ 4
สาเหตุ : ต้องการวางรากฐานพระพุทธศาสนา ในประเทศลังกา
การสังคายนา ครั้งที่ 5
สาเหตุ : พระสงฆ์ในลังกาต่างเห็นพ้องต้องกันว่า พระพุทธวจนะที่ถ่ายทอดกันมาโดย วิธีการท่องจำนั้น อาจจะขาดตกบกพร่อง ได้ในภายภาคหน้า ผู้ที่จำได้มีเหลือน้อยลง จึงได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร
การสังคายนา ครั้งที่ 6
สาเหตุ : เนื่องจากในประเทศอินเดียมีเพียง พระไตรปิฎก ไม่มีอรรถกถา พระพุทธโฆษาจารย์ จึงเดินทางมาแปล อรรถกถาพระไตรปิฎก จากภาษาลังกาเป็นภาษาบาลี
การสังคายนา ครั้งที่ 7
สาเหตุ : เนื่องจากที่ลังกายังขาด คัมภีร์ฎีกา พระเถระทั้งหลายอันมีพระมหากัสสปะเป็นประธาน จึงได้ประชุมกันเพื่อ รจนาคัมภีร์ฎีกา ขึ้นเพื่อประโยชน์แก่การศึกษาพระพุทธศาสนา
การสังคายนา ครั้งที่ 8
สาเหตุ : พระไตรปิฎกยังขาดตกบกพร่องผิดเพี้ยนและไม่ครบ พระเถร ผู้ทรงพระไตรปิฎกหลายร้อยรูปจึงรวมกันชำระพระไตรปิฎกให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
การสังคายนา ครั้งที่ 9
สาเหตุ : พระผู้ใหญ่ถูกถอดและถูกจับสึก เพราะมีความประพฤติย่อหย่อน ในพระธรรมวินัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระราชประสงค์ให้ชำระพระไตรปิฎกขึ้น
การสังคายนา ครั้งที่ 10
สาเหตุ : เพื่อชำระพระไตรปิฎกแล้วจัดพิมพ์ ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 จะทรงเจริญพระชนมพรรษา 60 พรรษา ในพ.ศ.2530 พระไตรปิฎกฉบับสังคายนา