ไตรมาสแรก
- ควรพักผ่อนวันละ 8-10 ชั่งโมง รับประทานอาหารให้ถูกโภชนาการ
- ทำงานบ้านเบาๆ 15-20 นาทีต่อครั้ง หลีกเลี่ยงการทำงานบ้านหนักๆ หรืองนยกของหนัก และงานที่ต้องยืนนานๆ
- หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีนงดสูบบุหรี่พักผ่อนให้เพียงพอการรับประทานยาควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ไม่ควรใช้ยารับประทานเอง
- ควรดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายเป็นประจำ ระวังการใช้สารเคมี เช่น น้ำยาย้อมผม การใช้เครื่องสำอาง และน้ำหอม
- ระวังเรื่องการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยในขณะตั้งครรภ์ โดยไม่ควรให้มีแรงกระแทกบริเวณท้องมากเกินไป
- คุณแม่ตั้งครรภ์มีอารมณ์ดีอยู่เสมอจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีตั้งแต่อยู่ในครรภ์
- เนื่องจากผิวหนังคุณแม่ท้องเริ่มขยาย อาจทำให้มีอาการคันและทำให้ผิวแตกลาย ควรหาครีมทาหน้าท้องมาบำรุงทาป้องกันท้องแตกลายด้วย
ไตรมาสที่สอง
- ควรพักผ่อนอย่างเพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เน้นโปรตีน ผัก ผลไม้
- หลีกเลี่ยงการยกของหนัก และงานที่ต้องยืนเป็นเวลานาน
- หลีกเสี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูง พยายามใส่รองเท้าที่นุ่มสบายรับน้ำหนักได้ ไม่ทำให้ปวดเท้า
- เลือกทานอาหารที่ช่วยเรื่องพัฒนาการของทารก เนื่องจากไตรมาสนี้คุณแม่จะไม่ค่อยมีอาการแพ้ท้องทำให้สามารถกินอาหารได้มากขึ้น ดังนั้นหากไม่ควบคุมหรือเลือกกินอาหารที่บำรุงลูกน้อย อาจทำให้น้ำหนักแม่ๆขึ้นได้ง่าย และลดยากหลังคลอด
ไตรมาสสาม
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ช่วงใกล้คลอดคุณแม่ควรพักผ่อนให้มากๆ และควรนอนตะแคงซ้ายเพื่อการไหลเวียนเลือดที่ดี หากมีอาการปวดหลังให้เอาหมอนมารองที่ท้อง จะทำให้หลับสบายขึ้น
- หากจำเป็นต้องเดินขึ้นลงบันไดให้เดินช้าๆ และเดินเท่าที่จำเป็น
- ออกกำลังกายเฉพาะส่วน เพื่อลดอาการปวดหลัง ปวดเอวและฝึกการหายใจเพื่อเตรียมคลอด สำหรับแม่ๆที่ต้องการคลอดธรรมชาติ
- รับประมานอาหารที่ช่วยบำรุงน้ำนม เพื่อเตรียมน้ำนมสำหรับลูกน้อย
- หาเสื้อผ้าที่เหมาะสมสวมใส่ เพราะบางคนที่ใกล้คลอดบางคนเริ่มมีน้ำนมซึมแล้ว คุณแม่อาจจะมาใส่เสื้อสำหรับให้นมได้ตั้งแต่ท้องได้
- คุรแม่ไม่ควรกินอาหารแล้วนอนทันที ควรนั่งสัก 1 ชั่วโมง เพื่อป้องกันโรคกรดไหลย้อน
- หมั่นสังเกตการดิ้นของลูกในท้อง และอาการปวดท้องตัวเองบ่อยๆ หากพบอาการผิดปกติ รีบไปพบแพทย์ทันที
- พยายามคุมอาหาร เพื่อป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดสูง และภาวะที่เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์
หากพบว่าปวดท้องทุก 10 นาที มีน้ำเดิน ลูกดิ้นน้อยลง ปวดหัว ตาพร่ามัว บวม ให้รีบไปพบแพทย์ทันที