- อาการท้องลด เกิดจากทารกในครรภ์เริ่มเคลื่อนศีรษะลงมาอยู่บริเวณอุ้งเชิงกราน ซึ่งจะทำให้คุณแม่รู้สึกโล่ง ไม่อึดอัด ท้องมีขนาดเล็กลง และ หายใจสะดวกขึ้น ซึ่งอาการนี้จะเรียกว่า “อาการท้องลด” อาการนี้อาจเกิดขึ้นไม่กี่สัปดาห์ก่อนคลอด หรือ ไม่กี่ชั่วโมงก่อนคลอด ทั้งนี้ในคุณแม่บางคนก็อาจไม่มีอาการท้องลดเตือนเมื่อใกล้ถึงเวลาคลอด
- มีเมือกไหลออกมาทางช่องคลอด ในช่วงการตั้งครรภ์ บริเวณปากมดลูกจะมีเมือกที่เรียกว่า mucus plug เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าไปในมดลูกในระหว่างตั้งครรภ์ เมื่อเริ่มใกล้เวลาเข้าสู่การคลอด ปากมดลูกจะเริ่มเปิดและบาง เมือกนี้ก็จะหลุดออกมา และบางครั้งอาจมีเลือดผสมออกมาด้วย ซึ่งเป็นสัญญาณของอาการใกล้คลอดนั่นเอง
- การเจ็บท้องจริง คุณแม่จะรู้สึกเจ็บเป็นระยะอย่างต่อเนื่องและเริ่มถี่ขึ้น อาการเจ็บท้องจริงก่อนการคลอดนี้จะคล้ายกับตอนที่เจ็บท้องมีประจำเดือน แต่จะเริ่มปวดถี่แรงขึ้นเป็นจังหวะ หากคุณแม่เกิดอาการแบบนี้ ควรรีบไปโรงพยาบาลได้เลย เพราะเป็นสัญญาณสำคัญของการคลอดแล้ว
- ท้องเสีย อาการท้องเสีย ก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณของการใกล้คลอด และเมื่อใกล้คลอด ร่างกายจะปล่อยสารโพรสตาแกลนดิน ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้มดลูกหดตัว และหากมีอาการท้องเสีย จะทำให้ร่างกายของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์เกิดภาวะขาดน้ำ หากมีการท้องเสียมาก ร่างกายจะขาดน้ำอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการบีบตัวของมดลูกอันนำไปสู่การคลอดได้
- ปวดหลัง อาการปวดหลังเป็นอาการทั่วไปที่มักเกิดกับแม่ท้อง แต่หากเริ่มมีอาการปวดหลังรุนแรงมากขึ้น ซึ่งในบางครั้ง อาจมาจากการที่ศีรษะของเด็กในครรภ์ ไปสัมผัสกับกระดูกสันหลังของแม่ท้องจึงทำให้มีอาการปวดหลังรุนแรง ซึ่งอาจเป็นอีกสัญญาณของการใกล้คลอดได้เช่นกัน
- ถุงน้ำคร่ำแตก อาการถุงน้ำคร่ำแตก หรือที่เรียกกันว่า น้ำเดิน แสดงถึงการที่มดลูกเริ่มบีบตัวหดเล็กลงเพื่อบีบให้ศีรษะของเด็กเคลื่อนลงสู่อุ้งเชิงกราน น้ำที่ออกมาจะเป็นลักษณะใสๆ คล้ายน้ำปัสสาวะ อาการน้ำเดินมีโอกาสมากถึง 80 % ที่จะคลอดภายใน 12 ชั่วโมง หากคุณแม่ท้องมีอาการเช่นนี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
ทั้งนี้หากมีสัญญาณเหล่านี้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายคุณแม่ควรควรรีบไปโรงพยาบาลทันที ได้แก่
- มีเลือดออกทางช่องคลอด
- เมื่อลูกไม่ดิ้น หรือดิ้นน้อยลงกว่าปกติ
- น้ำคร่ำเป็นสีน้ำตาล เขียว เหลือง หรือสีอื่น ๆ นอกเหนือจากสีใสหรือสีชมพู
- อาเจียนไม่หยุด