หน้าหลัก

การตรวจเลือดก่อนคลอด

การตรวจเลือดก่อนคลอด เป็นการตรวจสุขภาพมารดา สุขภาพครรภ์และสุขภาพทารกระหว่างที่ตั้งครรภ์ เพื่อช่วยให้ทราบถึงภาวะและความปลอดภัยของผู้ที่เป็นแม่และลูกน้อยในครรภ์ รวมไปถึงการดูภาวะความเสี่ยงของโรคต่างๆที่อาจส่งต่อจากแม่ไปสู่ลูกได้

ก่อนจะคลอดคุณแม่จะต้องได้รับการตรวจเลือดเพื่อให้ทราบสิ่งต่อไปนี้

1.หมู่เลือด เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทราบหมู่เลือดของหญิงมีครรภ์หากเธอต้องการการถ่ายเลือด สี่หมู่เลือดหลักได้แก่ O, A, B และ AB

2.หมู่เลือด Rhesus (Rh) หมู่เลือด Rh คือแอนติเจนที่พบได้ในเซลล์เม็ดเลือดแดง บุคคลที่มีหมู่เลือดนี้จะจัดอยู่ในประเภท ‘RH บวก’ และผู้ที่ไม่มีแอนติเจนนี้จะเรียกว่า ‘Rh ลบ’

ประชากรจีนส่วนมากจะอยู่ในประเภท Rh บวก เมื่อแม่ผู้ที่อยู่ในประเภท Rh ลบตั้งครรภ์ทารก Rh บวก จะเกิดปัญหาต่าง ๆ ขึ้น เช่น ภาวะที่เกิดการทําลายเม็ดเลือดแดงก่อนอายุขัย อาการบวมน้ำ หรือแม้แต่การเสียชีวิต ดังนั้นการตรวจเลือดเป็นประจำจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น

3.ปริมาตรฮีโมโกลบินและค่าเฉลี่ยปริมาตรเม็ดเลือดแดง การตรวจเหล่านี้ช่วยค้นหาว่าหญิงมีครรภ์เป็นโรคโลหิตจางหรือไม่ ค่าเฉลี่ยปริมาตรเม็ดเลือดแดง (MCV) นั้นเป็นการตรวจที่ง่ายและธรรมดาซึ่งช่วยในการค้นหาว่าใครมีโอกาสสูงในการมียีนส์ธาลัสซีเมียหรือภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก กรุณาอ้างถึงแผ่นพับ “ค่าเฉลี่ยปริมาตรเม็ดเลือดแดงและธาลัสซีเมีย” สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

4.แอนติบอดีเชื้อหัดเยอรมัน ผู้หญิงที่ได้รับวัคซีนเชื้อหัดเยอรมันหรือติดเชื้อหัดเยอรมันก่อนการตั้งครรภ์ควรมีภูมิคุ้มกัน ซึ่งก็คือ แอนติบอดีเชื้อหัดเยอรมัน ซึ่งสามารถปกป้องเธอจากการติดเชื้อหัดเยอรมันระหว่างการตั้งครรภ์ได้ การติดเชื้อหัดเยอรมันอาจก่อให้เกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์ หากผู้หญิงไม่มีแอนติบอดีเชื้อหัดเยอรมัน เธอควรได้รับวัคซีนหลังจากคลอดบุตร

5.แอนติเจนไวรัสตับอักเสบบี ประมาณแปดเปอร์เซ็นต์ (8%) ของประชากรท้องถิ่นเป็นพาหะเชื้อไวรัสตับอักเสบ B พาหะเชื้อไวรัสส่วนมากจะไม่แสดงสัญญาณหรืออาการของโรค หากผลตรวจเลือดหาแอนติเจนไวรัสตับอักเสบ B เป็นบวก แปลว่าผู้เป็นแม่เป็นพาหะ แม่ที่เป็นพาหะเชื้อไวรัสตับอักเสบ B อาจส่งต่อไวรัสแก่ทารกในขณะหรือระหว่างการคลอด ทารกแรกเกิดควรได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบ B และ อิมมูโนโกลบุลินป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ B หลังคลอดเพื่อปกป้องเขาจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ B

6.ซิฟิลิส โรคซิฟิลิสที่ไม่ได้รับการรักษาระหว่างการตั้งครรภ์อาจก่อให้เกิดการแท้งหรือมีผลกระทบต่อทารกในครรภ์ เช่น ตาบอดหรือหูหนวก ดังนั้นจำเป็นต้องตรวจพบและรักษาแต่เนิ่น ๆ

7.การตรวจแอนติบอดีเชื้อเอชไอวี (HIV เชื้อเอชไอวีก่อให้เกิดโรคเอดส์ (Acquired Immunodeficiency Syndrome) เส้นทางการส่งต่อเชื้อประกอบด้วยการมีเพศสัมพันธ์ การติดต่อทางเลือด หรือจากแม่ที่มีเชื้อสู่ทารกในระหว่างการตั้งครรภ์ การคลอด หรือการให้นมแม่ อัตราการส่งต่อเชื้อจากแม่ที่ติดเชื้อสู่ทารกคือ 15%-40% อัตราการส่งต่อเชื้อสามารถลดลงได้ 1-2% ด้วยการรักษาและการป้องกันที่มีประสิทธิภาพในช่วงการตั้งครรภ์ ระหว่างการคลอดและกับทารกหลังคลอด