หน้าหลัก

ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์

ความเสี่ยงจากการตั้งครรภ์นั้นมีทั้งเสี่ยงก่อนตั้งครรภ์และหลังตั้งครรภ์ เรามาดูกันว่าภาวะเสี่ยงเหล่านี้มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง และเราควรจะระมัดระวังหรือควรทำอย่างไรเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะเหล่านี้ เพื่อให้ทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์แข็งแรงและปลอดภัย

สาเหตุที่อาจทำให้เกิดภาวะครรภ์เสี่ยง

  • ภาวะครรภ์เสี่ยงเนื่องจากแม่ท้องมีอายุน้อยกว่า 16 ปี
  • ภาวะครรภ์เสี่ยงเนื่องจากแม่ท้องมีอายุมากกว่า 40 ปี
  • ภาวะครรภ์เสี่ยงเนื่องจากมีเลือดออกทางช่องคลอดระหว่างตั้งครรภ์
  • ภาวะครรภ์เสี่ยงเนื่องจากมีหมู่เลือด Rh เป็นลบ
  • ภาวะครรภ์เสี่ยงเนื่องจากมีก้อนในอุ้งเชิงกรานระหว่างตั้งครรภ์
  • ภาวะครรภ์เสี่ยงเนื่องจากมีความดันโลหิตสูง ความดันมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มม.ปรอท
  • ภาวะครรภ์เสี่ยงเนื่องจากเป็นเบาหวานชนิดต้องพึ่งพาอินซูลิน แม่ท้องเป็นโรคไต แม่ท้องเป็นโรคหัวใจ
  • ภาวะครรภ์เสี่ยงเนื่องจากติดยาเสพติดหรือสุรา
  • ภาวะครรภ์เสี่ยงเนื่องจากเป็นโรคทางอายุรกรรม เช่น โลหิตจาง ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ภาวะภูมิคุ้มกันไวเกิน (SLE) โรคธาลัสซีเมีย โรคลมชัก และวัณโรค
  • ภาวะครรภ์เสี่ยงเนื่องจากเป็นโรคติดเชื้อ HIV (โรคเอดส์) กามโรค หรือพาหะตับอักเสบบี
  • ภาวะครรภ์เสี่ยงเนื่องจากเป็นการตั้งครรภ์แฝด
  • ภาวะครรภ์เสี่ยงเนื่องจากทารกในครรภ์อยู่ในท่าที่ผิดปกติ เช่น ท่าก้น หรือท่าขวาง (ตั้งแต่ 34 สัปดาห์เป็นต้นไป)  

ภาวะครรภ์เสี่ยงเนื่องจากมีประวัติบางอย่าง

  • หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงเพราะเคยแท้งบุตรมาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง
  • หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงเพราะเคยคลอดลูก แล้วลูกเสียชีวิตในครรภ์ระหว่างคลอดและหลังคลอด
  • หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงเพราะเคยคลอดบุตรน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม
  • หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงเพราะเคยคลอดบุตรน้ำหนักมากกว่า 4,000 กรัม
  • หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงเพราะมีประวัติทารกคลอดก่อนกำหนด คลอดก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์
  • หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงเพราะมีประวัติทารกคลอดหลังกำหนด คลอดอายุครรภ์เกิน 42 สัปดาห์เต็มขึ้นไป
  • หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงเพราะมีประวัติทารกโตช้าในครรภ์
  • หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงเพราะมีประวัติทารกพิการทางด้านสมอง
  • หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงเพราะเคย ครรภ์เป็นพิษ ในการตั้งครรภ์
  • หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงเพราะเคยได้รับการผ่าตัดที่ตัวมดลูกหรืออวัยวะสืบพันธุ์

การดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์

  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อให้ทารกในครรภ์เติบโตอย่างแข็งแรง ลูกในท้องไม่ตัวเล็กหรือใหญ่เกินไป
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารจำพวก ขนม ขนมหวาน น้ำหวาน น้ำอัดลม
  • ทานกรดโฟลิก ยา หรือวิตามิน ตามที่แพทย์สั่ง
  • งดสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้สารเสพติด
  • ไม่หักโหมออกกำลังกาย หรือทำงานหนักมากเกินไป
  • นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ดื่มน้ำบ่อย ๆ ไม่เครียด  

อาการผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ ควรรีบพบแพทย์

  • ปวดศีรษะบ่อย
  • จุกเสียดแน่นท้อง
  • ขนาดท้องเล็กหรือใหญ่กว่าปกติ
  • เลือดออกทางช่องคลอด
  • เมื่อตั้งครรภ์ได้ 5-6 เดือนแล้วลูกยังไม่ดิ้น

ที่มา : https://www.bumrungrad.com