กลุ่มเสี่ยงต่อภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ได้แก่
- ผู้ป่วยที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคเบาหวาน
- ผู้ป่วยที่มีประวัติคลอดเด็กน้ำหนักมาก
- ผู้ป่วยที่มีประวัติคลอดเด็กเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน
ความเสี่ยงจากเบาหวานเมื่อตั้งครรภ์
ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะความดันโลหิตสูงและอัตราการผ่าตัดคลอดอาจเพิ่มขึ้น ภาวะทารกตัวโต (Macrosomia) หมายถึง ทารกที่มีน้ำหนักมากกว่า 4,000 กรัม เกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงในแม่ ซึ่งมักเกิดในครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ ทำให้น้ำตาลในทารกสูงด้วยไปกระตุ้นให้ตับอ่อนสร้างอินสุลินมากขึ้น
การคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะใช้แบบการตรวจ 2 ขั้นตอน
- เมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรกจะตรวจคัดกรองในกลุ่มที่มีความเสี่ยง เช่น BMI ≥ 25
- มีประวัติครอบครัวใกล้ชิด (1st degree relative) เป็นเบาหวาน
- เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในครรภ์ก่อน
- มีประวัติตรวจพบความผิดปกติของระดับน้ำตาล
- ตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ
- มีประวัติคลอดบุตรน้ำหนักมากกว่า 4,000 กรัม
- มีประวัติทารกเสียชีวิตในครรภ์ หรือเสียชีวิตขณะคลอด
- เมื่ออายุครรภ์ 24 - 28 สัปดาห์ สตรีตั้งครรภ์ทุกรายได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานด้วยการกินน้ำตาล เพื่อตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดก่อน และหลังการรับประทานน้ำตาลที่มีความเข้มข้น 50 กรัม เป็นเวลาครบ 1 ชั่วโมง โดยไม่ต้องงดน้ำและอาหาร หากผลตรวจผิดปกติ คือค่าน้ำตาลมากกว่า 140 มิลลิกรัมต่อเดชิลิตร (>140mg/dl) แพทย์จะนัดตรวจรับประทานน้ำตาลที่มีความเข้มข้น 100 กรัม เพื่อทดสอบความทนของน้ำตาล โดยจะต้องงดน้ำ และอาหารก่อนได้รับการตรวจอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
นอกจากนี้สตรีตั้งครรภ์จะได้รับการเจาะเลือดทั้งหมด 4 ครั้ง
- ครั้งที่ 1 ก่อนรับประทานน้ำตาล
- ครั้งที่ 2 หลังจากรับประทานน้ำตาล 1 ชั่วโมง
- ครั้งที่ 3 หลังจากรับประทานน้ำตาล 2 ชั่วโมง
- ครั้งที่ 4 หลังจากรับประทานน้ำตาล 3 ชั่วโมง
หากพบความผิดปกติอย่างน้อย 2 ค่าขึ้นไป จะได้รับการส่งปรึกษาต่อกับแพทย์อายุรกรรมเฉพาะทางต่อมไร้ท่อ ต่อไป
ขอบคุณที่มาจากเพจ รพ. เปาโล