หน้าหลัก

การออกกำลังกายระหว่างตั้งครรภ์

การออกกำลังในขณะตั้งครรภ์ ถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะจะช่วยให้ระบบไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ทำให้คุณแม่รู้สึกสดชื่นสบายตัว กระฉับกระเฉง ช่วยลดอาการปวดเมื่อยที่หลังและลดอาการตะคริว ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญสำหรับคนท้อง นอกจากนี้ยังทำให้ร่างกายแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นในขณะตั้งครรภ์ ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานแข็งแรงยิ่งขึ้น ช่วยเพิ่มพลังและความอดทนเมื่อต้องเจ็บครรภ์เป็นเวลานานและตอนเบ่งคลอด

การออกกำลังกายระหว่างตั้งครรภ์

ในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์

เป็นช่วงเวลาที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะคุณแม่ที่ปกติไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ ช่วงนี้ควรงดเว้นไปก่อน เพราะมีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่ทำให้แท้งได้สูง ส่วนคุณแม่ที่ออกกำลังกายเป็นประจำอยู่แล้ว ให้ลดปริมาณให้น้อยลง ห้ามออกกำลังกายที่ใช้แรง ต้องยกน้ำหนัก วิ่งกระโดดที่ค่อนข้างรุนแรง หรือใช้เวลานาน ควรงดเว้นไว้ก่อน และควรมีผู้เชี่ยวชาญอยู่ด้วยเสมอ เพราะหากคุณแม่ออกกำลังกายที่เหนื่อยจนเกินไปจะทำให้ออกซิเจนไม่เพียงพอ และส่งผลให้ลูกน้อยขาดออกซิเจนไปด้วย

หลังอายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป

ไม่ควรออกกำลังกายในท่านอน เพราะอาจทำให้มดลูกไปกดทับเส้นเลือดจนทำให้เลือดไปเลี้ยงมดลูกน้อยลง คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถออกกำลังเบาๆ ได้ ที่ไม่ทำให้เหนื่อยและใช้เวลานานจนเกินไป เช่น การเดิน การเต้นแอโรบิคในน้ำ ว่ายน้ำ ยืดเส้น โยคะสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ซึ่งต้องมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลเสมอ

การออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสำหรับช่วงตั้งครรภ์ เช่น การวิ่งที่ใช้เวลานาน หรือวิ่งนอกบ้าน ซึ่งอาจสะดุดหกล้มได้ หรือกีฬาผาดโผน เช่น ขี่ม้า ดำน้ำ เป็นต้น

หากเป็นไปได้ ควรมีเครื่องตรวจนับชีพจรติดตัว ไว้ระหว่างออกกำลังกาย หากมากกว่า 140 ครั้งต่อนาทีให้รีบหยุดพัก เพื่อป้องกันหัวใจเต็นแรงและเร็วจนเกินไป

ควรเลือกสถานที่ออกกำลังกายที่ค่อนข้างปลอดโปร่ง ไม่แออัดหรืออบอ้าวจนเกินไป ควรปรึกษาคุณหมอ เรื่องท่าในการออกกำลังกายที่เหมาะสมระหว่างตั้งครรภ์

ประโยชน์ของการออกกำลังกายระหว่างตั้งครรภ์

การเลือกการออกกำลังกายที่เหมาะสมในระหว่างตั้งครรภ์สามารถให้ประโยชน์มากมายสำหรับคุณแม่และลูกน้อย สามารถบรรเทาอาการปวดเมื่อยบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ กระตุ้นอารมณ์และสุขภาพจิตของคุณแม่ ส่งเสริมการควบคุมน้ำหนักเพื่อสุขภาพ และลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน เช่น ความดันโลหิตสูงและภาวะครรภ์เป็นพิษ

การออกกำลังกายยังสามารถช่วยให้คุณแม่เตรียมพร้อมสำหรับการคลอดบุตรและความเข้มงวดของการเป็นแม่ นอกจากนี้ยังอาจช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนระหว่างการคลอดและช่วยให้ระยะเวลาการฟื้นตัวเร็วขึ้น แม่อาจต้องเปลี่ยน เพื่อที่คุณแม่จะได้ไม่เสี่ยงต่อสุขภาพของคุณแม่หรือลูกน้อย