วิธีเลือกเครื่องปั๊มน้ำนม ให้คุณแม่พิจารณาดังนี้
1.จังหวะการปั๊มนม
เครื่องปั๊มนมที่ดีต้องมีการดูดที่ใกล้เคียงกับทารกในช่วง 6-12 สัปดาห์แรก เพื่อกระตุ้นการไหลของน้ำนมที่ดี ซึ่งตัวเครื่องควรมีแรงดูดอยู่ที่ประมาณ 200 mmHg และรอบดูดอยู่ที่ 40-60 ครั้งต่อนาที และหากเป็นคุณแม่ที่ต้องมีการปั๊มนม 4 เดือนขึ้นไป แนะนำให้ใช้เครื่องที่มีรอบดูดมากกว่า 40 นาทีขึ้นไปเพื่อให้มีน้ำนมมากเพียงพอต่อความต้องการอาหารของทารกที่มากขึ้น
2. แหล่งพลังงานที่ใช้
แหล่งพลังงานที่ใช้ในการเพิ่มแรงดูดของเครื่องปั๊มนมมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ ปั๊มด้วยแรงมือ เครื่องปั๊มนมที่ใช้แบตเตอรี่ และเครื่องปั๊มนมที่ใช้ไฟฟ้า แต่ละประเภทมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป อย่างเช่น เครื่องปั๊มด้วยมือมีราคาถูกแต่ใช้งานยากและเมื่อยมือ เป็นต้น ดังนั้นเหล่าคุณแม่ควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและเลือกเครื่องปั๊มนมที่เหมาะกับตนเองมากที่สุด
3. เสียง
เครื่องปั๊มนมบางประเภทอาจมีเสียงดังในระหว่างการใช้งาน ซึ่งอาจรบกวนการพักผ่อนของลูกน้อยและไม่เหมาะสำหรับการพกพาไปใช้นอกบ้านเพราะทำให้เกิดเสียงรบกวน ดังนั้นหากคุณแม่คนไหนที่กำลังหาซื้อเครื่องปั๊มอยู่ ก็ให้ลองพิจารณาในส่วนนี้ด้วย
4. ราคา
เนื่องจากเครื่องปั๊มนมมีให้เลือกตามความสะดวกสบาย ดังนั้นจึงมีราคาสูงตามไปด้วย ยกตัวอย่างเช่น เครื่องปั๊มนมแบบไฟฟ้าจะมีให้เลือกทั้งแบบ 1 มอเตอร์ และ 2 มอเตอร์ หากเป็นแบบ 1 มอร์เตอร์จะใช้ปั๊มนมได้แค่ทีละข้างทำให้ต้องใช้เวลามากกว่าแบบ 2 มอเตอร์ที่สามารถปั๊มนมได้ครั้งละสองเต้าพร้อมกัน แต่เครื่องปั๊มนมไฟฟ้าแบบ 2 มอเตอร์นั้นมีราคาค่อนข้างสูง เราจึงแนะนำว่าให้เหล่าคุณแม่เลือกเครื่องปั๊มนมที่เหมาะสมกับเงินในกระเป๋าตัวเองจะดีที่สุด
5. ระบบที่มีในเครื่อง
เมื่อเป็นเครื่องปั๊มนมที่ใช้แบตเตอรี่หรือเครื่องปั๊มนมไฟฟ้า จะมีโหมดตัวช่วยในการใช้งานที่มีด้วยกันหลัก ๆ 3 โหมด คือ โหมดกระตุ้นน้ำนม โหมดดูดน้ำนม และโหมดสลายท่อน้ำนมอุดตัน หากต้องการจะซื้อเครื่องปั๊มนมสักหนึ่งเครื่อง แนะนำว่าให้เลือกซื้อเครื่องที่มีครบทั้งสามโหมดนี้เพื่อประโยชน์ในการใช้งานที่คุ้มค่าและตอบโจทย์ทุกปัญหาของคุณแม่
6.การรับประกัน
เครื่องปั๊มนมเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างหนึ่ง หากเกิดปัญหาในการใช้งานควรมีการรับประกันคุณภาพที่เหมาะสม รวมถึงการรับประกันแบตเตอรี่ว่าจะสามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน
ข้อดีของเครื่องปั๊มนม
-
เป็นตัวช่วยกระตุ้นเต้านมให้ผลิตน้ำนมได้มากขึ้นสำหรับในช่วงแรก
-
ไม่รบกวนการพักผ่อนของลูกน้อย เพราะในเวลาที่คุณแม่คัดเต้าแต่ไม่สามารถเอาลูกเข้าเต้าได้ ก็สามารถปั๊มน้ำนมเก็บไว้ได้
-
คุณพ่อสามารถป้อนน้ำนมที่สต็อกไว้จากเครื่องปั๊มนมแทนได้ในกรณีที่คุณแม่พักผ่อนอยู่
-
ช่วยระบายน้ำนมทำให้เต้านมนิ่มลงและทำให้ลูกน้อยดูดนมได้ง่ายขึ้น เพราะหากเต้านมคุณแม่แข็งมาก ลูกน้อยอาจดูดยากและไม่ดูดในที่สุด
-
การที่ไม่ปล่อยให้เต้านมคัดบ่อย ๆ และปล่อยให้น้ำนมได้ระบายออกไป จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดเต้านมอักเสบสำหรับคุณแม่