หน้าหลัก

ซีเซียม 137 คืออะไร อันตรายแค่ไหน?

ซีเซียม 137 เป็นสารกัมมันตรังสี ที่มีลักษณะโลหะอ่อนมาก สีทองเงิน เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง แต่มักจะจับตัวกับคลอไรด์กลายเป็นผงผลึก ปล่อยรังสีเบต้า และแกมม่า ใช้ในโรงงาน

ซีเซียม-137 เป็นไอโซโทปกัมมันตรังสีของธาตุซีเซียม มีค่าครึ่งชีวิต 30 ปี สลายตัวโดยปล่อยรังสีบีตาและรังสีแกมมา มีการนำซีเซียม-137 มาใช้ในเครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรม ใช้ปรับเทียบเครื่องมือวัดรังสี รวมถึงใช้เป็นต้นกำเนิดรังสีแกมมา

ผลกระทบต่อสุขภาพหากร่างกายได้รับ ซีเซียม-137

เมื่อได้รับเข้าไปในร่างกายซีเซียมสามารถกระจายไปยังอวัยวะและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทั่วร่างกาย โดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่กล้ามเนื้อและกระดูก บางส่วนจะไปอยู่ในตับและไขกระดูก สุดท้ายจะถูกขับออกจากร่างกายทางเหงื่อและปัสสาวะ กัมมันตภาพรังสีนี้ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี จึงทำให้ผู้ที่สัมผัสอาจไม่รู้ตัว แต่หลังจากนั้นภายในเวลาเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน จะเริ่มแสดงอาการทางระบบต่าง ๆ เช่น ผิวหนัง เยื่อบุ ระบบเลือด ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท ซึ่งอาจมีความรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

อาการที่อาจเกิดขึ้นเมื่อได้รับรังสี

  • คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร
  • ปวดท้อง ถ่ายเหลว
  • อ่อนเพลีย ขาดน้ำ
  • ผิวหนังบริเวณที่สัมผัสรังสีเกิดการอักเสบ แดง ไหม้ มีการหลุดลอก เกิดเป็นแผล ผิวหนังตาย
  • ผมและขนหลุดร่วง ปากเปื่อย
  • อาการจากไขกระดูกถูกกด ทำให้เป็นไข้ ติดเชื้อแทรกซ้อน มีเลือดออกง่าย
  • ซึม สับสน ชัก โคม่า
  • กรณีสัมผัสปริมาณมาก ส่งผลกระทบต่อระบบเลือด กดไขกระดูก ระบบประสาท ชักเกร็ง และอาจเสียชีวิตได้