หน้าหลัก

ติ่งเนื้อในโพรงมดลูก

ติ่งเนื้อในโพรงมดลูก เกิดจากเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกที่เจริญเติบโตมากเกินไป ติ่งเนื้อมีรูปร่างกลมหรือวงรีมีก้านบาง ๆ หรือฐานกว้างยึดติดอยู่กับเยื่อบุมดลูก โดยอาจมีขนาดเล็กเท่าเมล็ดงาหรือใหญ่กว่าลูกกอล์ฟ

ติ่งเนื้อในโพรงมดลูก

ติ่งเนื้อในโพรงมดลูก หรือ ติ่งเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูก เกิดจากเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกที่เจริญเติบโตมากเกินไป ติ่งเนื้อมีรูปร่างกลมหรือวงรีมีก้านบาง ๆ หรือฐานกว้างยึดติดอยู่กับเยื่อบุมดลูก โดยอาจมีขนาดเล็กเท่าเมล็ดงาหรือใหญ่กว่าลูกกอล์ฟ ผู้ป่วยอาจมีติ่งเนื้อหนึ่งติ่งหรือมากกว่านั้น โดยปกติแล้วติ่งเนื้อในโพรงมดลูกไม่เป็นมะเร็งและไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ แต่ก็อาจเป็นสาเหตุของประจําเดือนมาผิดปกติและภาวะปัญหาการเจริญพันธุ์ได้

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง

  • ระดับฮอร์โมน เช่น ฮอร์โมนเอสโตรเจน ทําให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้นในช่วงรอบประจําเดือน ซึ่งสัมพันธ์กับติ่งเนื้อในโพรงมดลูกที่โตขึ้น
  • อายุที่เพิ่มขึ้นจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดติ่งเนื้อในโพรงมดลูก โดยแนวโน้มที่จะเกิดติ่งเนื้อในโพรงมดลูกนั้นมากขึ้นในผู้ที่ เข้าสู่ระยะเริ่มต้นของวัยหมดประจำเดือนและวัยหมดประจําเดือน
  • ภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน
  • ความดันโลหิตสูง
  • การรับประทานยาทาม็อกซิเฟน (Tamoxifen) ที่ใช้ในการรักษามะเร็งเต้านม
  • การรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทนโดยการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนในปริมาณสูง
  • กลุ่มอาการ Lynch syndrome
  • กลุ่มอาการ Cowden syndrome

อาการของโรคติ่งเนื้อในมดลูก

  • มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดหลังมีเพศสัมพันธ์ เลือดออกนอกช่วงมีประจําเดือน หรือในช่วงวัยหมดประจําเดือน
  • ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
  • ประจําเดือนมามาก
  • ภาวะมีบุตรยาก
  • ปวดท้องหน่วงจากการที่มีติ่งเนื้อขนาดใหญ่ในโพรงมดลูก
  • ในบางรายติ่งเนื้อในโพรงมดลูกอาจคล้ายกับรอยโรคของมะเร็งเนื้อเยื่อโพรงบุมดลูกหรือภาวะเยื่อบุมดลูกหนาตัวผิดปกติ

การตรวจวินิจฉัยติ่งเนื้อในมดลูก

  • การซักประวัติ แพทย์จะถามเกี่ยวกับรอบเดือน อาการมีเลือดออกทางช่องคลอดหรืออยู่ในวัยหมดประจําเดือนหรือไม่
  • การตรวจภายในและการตรวจแปปสเมียร์
  • อัลตราซาวด์ทางช่องคลอด
  • การฉีดน้ำเกลือในโพรงมดลูกระหว่างการตรวจอัลตราซาวน์ (Saline infusion sonohysterography)
  • การส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก (Hysteroscopy)
  • การตรวจชิ้นเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrial biopsy)
  • การขูดมดลูก (Curettage)

การรักษาติ่งเนื้อในมดลูก

  • การเฝ้าระวัง หากไม่มีอาการอาจไม่จําเป็นต้องรักษาติ่งเนื้อในโพรงมดลูก เนื่องจากติ่งเนื้ออาจหายไปได้เองโดย เฉพาะอย่างยิ่งในรายที่ไม่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
  • ยา การรับประทานยา เช่น โปรเจสตินและยา GnRH agonist ซึ่งสามารถช่วยบรรเทาอาการที่เกิดจากติ่งเนื้อในโพรงมดลูกได้ แต่อาการอาจเกิดขึ้นอีกหากหยุดยา
  • การผ่าตัด เช่น การผ่าตัดส่องกล้องในโพรงมดลูก (Hysteroscopy) เพื่อวินิจฉัยและตัดติ่งเนื้อ แพทย์จะสั่งให้ทำการตรวจทางพยาธิวิทยาติ่งเนื้อในโพรงมดลูกที่ตัดออกมาเพื่อตรวจสอบว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ ติ่งเนื้อในโพรงมดลูกประมาณ 5% เป็นมะเร็ง และหากติ่งเนื้อในโพรงมดลูกโตขึ้นอีกจำเป็นต้องได้รับการรักษาซ้ำ