หน้าหลัก

โรคกรดไหลย้อนในทารก

ภาวะกรดไหลย้อน คือ อาหารหรือน้ำย่อยย้อนขึ้นไปบริเวณหลอดอาหาร เกิดอาการแหวะนม ซึ่งพบบ่อยในทารก เมื่อลูกโตขึ้นประมาณ 1 ปีขึ้นไป อาการจะลดลงแล้วหายไปได้เอง

สาเหตุการเกิดโรค

ในทารก พบบ่อยช่วงอายุ 3-4 เดือน โดยเกิดจากหูรูดกระเพาะอาหารยังไม่แข็งแรง เวลาลูกดูดนม นมจึงไหลย้อนจากกระเพาะขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร อาการมากน้อยแตกต่างกันไป และหายได้เองเมื่อโตขึ้นที่อายุเฉลี่ย 1 ปี ขึ้นไป ในเด็กโต มักจะเกิดจากการรับประทานอาหารที่ทำให้เกิดการบีบตัวของกระเพาะอาหารมากเกินไป เช่น อาหารมัน อาหารทอด ช็อกโกแลต เป็นต้น

อาการกรดไหลย้อนในทารก

  • คลื่นไส้ อาเจียนหลังกินนม
  • กระสับกระส่ายทุกครั้งที่กินนม
  • น้ำหนักไม่ค่อยขึ้นในช่วง 1 เดือนที่มีอาการ
  • นอนไม่หลับ ร้องงอแง
  • กินได้น้อยลงหากมีหลอดลมอักเสบ

ปัจจัยการเกิดกรดไหลย้อนในทารก

  • หูรูดหลอดอาหารส่วนปลายต่อกับกระเพาะอาหารยังไม่แข็งแรงเท่าวัยอื่น จึงเกิดการไหลย้อนกลับของนมขึ้นมาทางหลอดอาหาร
  • ทารกกินนมในท่านอนเป็นหลัก จึงมีโอกาสไหลย้อนกลับขึ้นมาในหลอดอาหารได้ง่าย

วิธีป้องกันกรดไหลย้อนในทารก

  • อุ้มเรอ หลังจากที่ให้กินนม
  • อย่าให้นอนราบทันที โดยอาจให้ศีรษะตั้งขึ้นประมาณ 30 องศา ช่วงเวลาหนึ่ง เพื่อให้นมไหลผ่านไปได้

ข้อมูลจาก รายการพบหมอรามา