หน้าหลัก

วิชาศิลปะ ม.1 เรื่อง คุณสมบัติของผู้วิจารณ์งานศิลปะ


คุณสมบัติของผู้วิจารณ์งานศิลปะ

ผู้วิจารณ์ที่ดีจำต้องประกอบด้วยคุณสมบัติของความเป็นผู้รอบรู้และมีคุณธรรมประจำใจพอสรุปได้ดังนี้

  1. เป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ทางศิลปะประเภทใดประเภทหนึ่ง ที่จะวิจารณ์โดยเฉพาะและรู้ละเอียดลึกซึ้ง
  2. เป็นผู้มีจิตใจรักชื่นชมในศิลปะและสุนทรียภาพอย่างแท้จริง
  3. เป็นผู้มีน้ำใจกว้างขวาง รักษาความเป็นกลาง ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น รู้จักประนีประนอมแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน
  4. เป็นผู้ที่มีความสามารถเชื่อมโยงวิชาความรู้อื่นๆ กับทัศนศิลป์ได้เป็นอย่างดี
  5. เป็นผู้ที่มีอุดมคติในการวิจารณ์ ไม่ใช้คำวิจารณ์เป็นเครื่องมือในการทำลายผู้อื่นมีความจริงใจปราศจากอคติใดๆ
  6. เป็นผู้ที่มีน้ำใจเป็นประชาธิปไตย เคารพสิทธิเสรีภาพของศิลปินและสามารถสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย
  7. เป็นผู้ที่มีอารมณ์ และความรู้สึกเยือกเย็น หลีกเลี่ยงความรุนแรง สามารถสรุปปัญหาที่เกิดจากอารมณ์และเหตุผลได้

สรุป ในการวิจารณ์ศิลปะใดๆ ย่อมเป็นการยากที่จะวิจารณ์ได้ถูกต้องเที่ยวแท้เสมอไปเพราะอาจมีภาพลวงตาทำให้ผู้วิจารณ์เกิดความเข้าใจผิดพลาด อันมีผลให้การวิจารณ์กลายเป็นนักประชาธิปไตยทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนี้

1. ประโยชน์ต่อวิจารณ์ผลงานศิลปะ

  • ทำให้ทราบและเข้าใจแนวคิดสร้างสรรค์ของผู้สร้างผลงานด้านศิลปะต่างๆ
  • ทำให้เป็นผู้มีหลักการบนพื้นฐานของปัญญา ที่สามารถรู้ให้เหตุผลตามเนื้อหาสาระที่ถูกต้อง
  • ทำให้ทราบถึงความเคลื่อนไหวของวงการศิลปะและสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน
  • ได้แสดงออกตามประสบการณ์ด้วยเหตุผลและมีความเที่ยงธรรม
  • ทำให้มีความรู้สึกนึกคิด ละเอียดและประณีตอยู่ในส่วนลึกของจิตใจ
  • ทำให้เป็นผู้ค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ มีความรักและความใกล้ชิดวงการศิลปะอย่างกว้างขวาง
  • มีความภาคภูมิใจที่ได้ชมผลงานที่ได้วิจารณ์ และขอสนับสนุนให้เจ้าของผลงานได้สร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพต่อสังคมต่อไป

2. ประโยชน์ต่อผู้สร้างผลงานทัศนศิลป์

  • มีโอกาสนำเสนอและอธิบายจุดมุ่งหมายแนวคิดสร้างสรรค์ในผลงานของตนเอง
  • รับทราบแนวความคิดและข้อมูลของผู้อื่น เพื่อนำไปปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม และพัฒนาให้ผลงานของตนดีและมีคุณค่ายิ่งขึ้น
  • มีโอกาสแนะนำเทคนิคและวิธีการอย่างถูกต้อง
  • มีขันติ เมื่อถูกกล่าวติเตียนโดยตรงและรู้จักยอมรับความเป็นจริง
  • ผลงานถูกวิจารณ์เกิดการรับรู้ มีประสบการณ์มากขึ้น
  • จิตใจเกิดพลังอย่างมีประสิทธิภาพในการสร้างสรรค์ผลงานด้านทัศนศิลป์ที่มีเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมต่อไป
  • เกิดความรู้สึกที่ดี มีความเข้าใจกันระหว่างผู้สร้างสรรค์ผลงานและผู้วิจารณ์

สรุป ในการทำงานศิลปะใดๆ ก็ตาม เมื่อทำขึ้นสำเร็จเป็นผลงานและปรากฏแก่สายตาของมนุษย์ทั่วไป ก็มักจะได้รับการกล่าวขาน ติชม ซึ่งอาจมีผลงานทั้งทางบวกและทางลบต่อผู้วิจารณ์ ดังนั้น เพื่อไม่ให้ครหาหรือติเตียนเกิดขึ้น การวิจารณ์ควรเป็นไปในแนวทางสร้างสรรค์ตัวบุคคลและสังคม ในลักษณะของการให้ข้อเสนอแนะ ส่งเสริมให้กำลังใจ สำหรับตัวผู้วิจารณ์หรือผู้ประเมินผลงานศิลปะ จำเป็นต้องมีความเข้าใจในเรื่องของสุนทรียภาพและทัศนศิลป์เฉพาะแขนงเป็นอย่างดี