หน้าหลัก

วิชาศิลปะ ม.1 เรื่อง วิธีการวิเคราะห์งานทัศนศิลป์


วิธีการวิเคราะห์งานทัศนศิลป์

1. ทฤษฎีนิยมการเลียนแบบ (Naturalism Theory)

เป็นทฤษฎีการสร้างงานศิลปะที่เหมือนจริงตาม ที่ตาเห็น จากสิ่งที่มี ในธรรมชาติ หรือตามความรู้สึก หรือ ทั้งสองแบบรวมกัน โดยผู้ชม งานศิลปะนั้น สามารถมองเห็น และเข้าใจได้ว่า เป็นภาพอะไรจาก ประสบการณ์ทางการเห็น

2. ทฤษฎีรูปทรง (Formalism Theory)

เป็นทฤษฎีการสร้างงานศิลปะที่ใช้ส่วนประกอบมูล ฐาน ของศิลปะ เช่น เส้น รูปร่าง รูปทรง มาใช้โดยตรง และอาจจะเป็นการลด ตัดทอน สิ่งที่เป็นจริง ในธรรมชาติ มาสร้างขึ้นใหม่ โดยผู้ชมงานศิลปะนั้น พอจะสามารถ ระบุได้ว่าเป็นภาพอะไร

3. ทฤษฎีนิยมอารมณ์ (Emotionalism Theory)

เป็นทฤษฎีการสร้างงานศิลปะโดยเน้นการ แสดงออกซึ่งความรู้สึกและ อารมณ์เป็นสำคัญ ผลงาน ที่ปรากฎออกมาจะมีลักษณะ ที่ไม่สามารถ ระบุได้ว่า เหมือน หรือเป็นภาพอะไร เป็นลักษณะนามธรรม (Abstract)

4. ทฤษฎีนิยมจินตนาการ (Immaginalism Theory)

เป็นทฤษฎีการสร้างงานศิลปะที่ใช้ความคิดหรือ จินตนาการ บางทีเรียกผลงานชนิดนี้ว่า แบบอุดมคติ (Idealism) ส่วนใหญ่จะเป็นแนวประเพณี ของชาติใด ชาติหนึ้ง เช่น ศิลปะไทย ศิลปะจีน ญี่บุ่น เป็นต้น ซึ่งผู้วิจารณ์ศิลปะในแนวนี้จะต้องเข้าใจประเพณี วัฒนธรรมของชาตินั้น เป็นอย่างดีด้วย

ขั้นตอนการวิเคราะห์ แบ่งออกได้เป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้

1. การพรรณา (Description)

การพรรณา เป็นขั้นตอนของการบรรยายโดยละเอียด เกี่ยวกับผลงาน ที่นำมาวิเคราะห์นั้น ตั้งแต่รายละเอียดอื่น ๆ ประกอบ เช่น ชื่อผลงาน ชื่อศิลปินผู้สร้าง ความเป็นมา และลักษณะเทคนิคของผลงาน จนกระทั่งถึง รายละเอียดของ ผลงานที่ปรากฎ ทั้งหมด ตามที่มองเห็นในทันทีทันใด เช่น เห็นเส้น ในลักษณะใด สีใด หรือรูปร่างแบบใด เป็นต้น โดยยังไม่แสดง ความคิดเห็น และใช้หลักการทางศิลปะใด ๆ ทั้งสิ้น เปรียบเสมือน การเล่าเรื่องให้ผู้ฟังให้มองเห็นภาพรวมของผลงาน ก่อน

2. การวิเคราะห์ (Analysis)

การวิเคราะห์ขั้นนี้ ผู้วิเคราะห์ จะเชื่อมโยงสัมพันธ์ สิ่งที่ได้สำรวจไว้ในขั้นแรก เป็นการค้นหาคุณค่า ความสมบูรณ์ ในการ ในงานศิลปะนั้น โดยอ้างอิง ทฤษฎีศิลปะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการส่งข้อมูลไปยังขั้นตอนการตีความ และตัดสิน ต่อไป โดยมีแนวทางในการวิเคราะห์ จากความสัมพันธ์ ของคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

คุณสมบัติด้านส่วนประกอบการรับรู้ (Elemental Proporties) หมายถึงการวิเคราะห์ความหมายของ คุณสมบัติ ส่วนประกอบ ขั้นมูลฐาน ของศิลปะ เช่น เส้น รูปร่าง สี พื้นผิว พื้นผิว เป็นต้น

คุณสมบัติด้านโครงสร้าง (Structural Proporties) หมายถึง คุณสมบัติจากหลักการและองค์ประกอบของศิลปะ เช่น ความสมดุล เอกภาพ การประสาน จุดเด่น เป็นต้น โดยผู้วิเคราะห์ จะต้องสามารถ ผูกโยงเข้ากับคุณสมบัติส่วนประกอบการรับรู้ หรือ ส่วนประกอบมูลฐาน ของศิลปะมีการใช้ส่วนประกอบมูลฐาน คือ เส้น รูปร่าง น้ำหนัก สี มาจัดโครงสร้าง เป็นองค์ประกอบ ที่มีความสมดุล แบบสองข้างไม่เท่ากัน และมีจังหวะความเคลื่อนไหว ที่ลื่นไหล สั่นพริ้ว ภายใต้บรรยากาศที่กลมกลืนมีคุณสมบัติด้านเทคนิควิธีการโดยใช้ รอยแปรงตวัดเป็นเส้นที่รุนแรง ทำให้เกิดพื้นผิวที่หยาบอันเป็นบุคลิคที่เด่นชัด ของศิลปินผู้นี้

สมบัติด้านเทคนิควิธีการ(Technical Proporties) หมายถึงคุณสมบัติด้านเทคนิควิธีการ ในการสร้าง งานศิลปะชิ้นนั้น เช่นรอยของการตวัดแปรง การพ่น การสลัด ในงานจิตรกรรม และเทคนิคการทำพื้นผิวหยาบ ละเอียด ในงานประติมากรรม เป็นต้น คุณสมบัติด้านเนื้อหา (Content Proporties) หมายถึงคุณสมบัติด้านเนื้อหาหรือความบันดาลใจ ในการสร้างงานศิลปะนั้น เช่น การสะท้อนภาพสังคมธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม เป็นต้น คุณสมบัติด้านความรู้สึก (Expressional Proporties) หมายถึงคุณสมบัติด้านความรู้สึก สะเทือนใจ ที่มีต่อ งานศิลปะนั้น เช่น ความสดชื่นอิ่มเอิบ

3. การตีความ (Interpretation)

เป็นขั้นตอนของการค้นหาความหมายในงานศิลปะนั้น โดยพิจารณา ความสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ จากขั้นตอนการพรรณา และ การวิเคราะห์ เอามาตีความว่ามีความหมายอย่างไร ให้อารมณ์ สะเทือนใจอย่างไร ฯลฯ ผู้วิเคราะห์ อาจจะตั้งสมมุติฐาน หรือแสดงความคิดเห็น ในความรู้สึก หรือ ความหมาย ของผลงานศิลปะชิ้นนั้นที่มีต่อตน ความหมายของศิลปะในที่นี้ หมายถึงความหมายที่มีต่อชีวิต ความเป็นอยู่ของมนุษย์ โดยทั่ว ๆ ไป ในขั้นตอนนี้ผู้วิเคราะห์อาจหา ข้อสัณนิษฐานที่เกี่ยวกับ ความคิด หรือหลักการที่สามารถช่วยยืนยันว่า ทำไมผลงาน ศิลปะนั้น มีผลต่อความคิดเห็นของตนเช่นนั้น

4. การการประเมินหรือการตัดสิน (Evaluation or Judgment)

เป็นขั้นตอนของการตัดสินงานศิลปะนั้น ดี หรือมีความ บกพร่องอย่างไร การประเมินหรือการตัดสิน เป็นขั้นตอนที่จำเป็น ที่ต้องมีการพิจารณา ตรวจสอบ ถึงเจตนาและผลที่เกิดขึ้น ของงานศิลปะชิ้นนั้น อาจจะเปรียบเทียบ กับงานศิลปะชิ้นอื่น ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ที่อยู่ในยุคสมัยเดียวกัน การที่จะ ประเมิน หรือตัดสินผลงานศิลปะอย่างมีสุนทรียภาพนั้น จะต้องมีเหตุผลและ ใช้หลักเกณฑ์ อย่างยุติธรรมและมีคุณธรรม ส่วนความชื่นชมในศิลปะนั้น เมื่อบุคคลบังเกิดความเข้าใจในศิลปะชิ้นนั้นแล้ว ย่อมจะบังเกิดความพึงพอใจ ชื่นชม ในผลงานศิลปะ ชิ้นนั้นด้วย และจากขั้นตอนการวิเคราะห์ศิลปะ ตามแนวทฤษฎี ดังกล่าวมาแล้ว แนวทางนี้ เป็นเพียง แนวทางกว้าง ๆ เท่านั้น ซึ่งในบางกรณี อาจไม่สามารถ ทำครบทุกขั้นตอนก็ได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของงานศิลปะ แต่ละชิ้นงาน แต่ที่สำคัญที่สุด ขึ้นอยู่กับความรู้ ประสบการณ์ทางศิลปะ ของผู้วิจารณ์ เป็นสำคัญ