ทำไมต้องห่อตัวทารก?
ทารกแรกเกิดจะคุ้นชินกับการนอนคดคู้ในมดลูกแม่ มีพื้นที่จำกัด มีน้ำคร่ำ รู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย แต่เมื่อคลอดออกมาแล้วถึงเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่ทารกจะได้สัมผัสกับแสง เสียง อากาศ และบรรยากาศรอบตัวที่ต่างไปจากเดิมมาก จึงอาจทำให้รู้สึกระแวง ไม่มั่นคงปลอดภัย ส่งผลให้ทารกแรกเกิดส่วนใหญ่จะร้องไห้บ่อย หลับ ๆ ตื่น ๆ ไม่นอนยาว การห่อตัวทารกจึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้เขาค่อย ๆ ปรับตัวกับโลกภายนอก
ทารกควรห่อตัวถึงอายุเท่าไหร่?
ปกติแล้วจะแนะนำให้ห่อตัวทารกตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุไม่เกิน 3 สัปดาห์ เพราะทารกจะค่อย ๆ เคลื่อนไหวตัวมากขึ้น โดยเฉพาะการพลิกตะแคง พลิกคว่ำ หากห่อตัวในช่วงที่ทารกพลิกคว่ำเองได้ อาจเสี่ยงต่ออาการหลับไหลตาย-Sudden Infant Death Syndrome (SIDS) เนื่องจากหน้าจมลงที่นอน หายใจไม่ออกและยังไม่สามารถพลิกตัวกลับมาในท่านอนหงายได้เอง
ดังนั้น ในระหว่างวันหรือตอนกลางคืนที่ห่อตัวให้ลูกนอน พ่อแม่ต้องคอยสังเกตดูว่าลูกเริ่มขยับพลิกตัวได้บ้างหรือยัง รวมถึงอาจมีบางช่วงที่ลองไม่ห่อตัว หรือห่อหลวม ๆ เพื่อให้เขาได้ขยับตัว สังเกตว่าหลับได้เองดีขึ้นไหม เพื่อเลิกห่อตัวและให้ลูกนอนได้อย่างอิสระมากขึ้น
ประโยชน์ของการห่อตัวทารกแรกเกิด
- การห่อตัวทารกช่วยทำให้เด็กรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย เหมือนตอนอยู่ในท้องแม่
- การห่อตัวทารกช่วยลดอาการสะดุ้งตกใจจากเสียงดัง
- การห่อตัวทารกช่วยรักษาความอบอุ่นทำให้ทารกไม่รู้สึกหนาว
- การห่อตัวทารกช่วยให้นอนหลับได้นานขึ้น
การห่อตัวเด็กทารกแบบต่าง ๆ
- วิธีห่อตัวทารกแบบเปิดศีรษะอิสระ
- วิธีห่อตัวเด็กแบบคลุมทั้งศีรษะ โผล่เห็นหน้าใบหน้า
- วิธีห่อตัวเด็กแบบครึ่งตัวช่วงล่าง เปิดอิสระตั้งแต่ศีรษะถึงหน้าอก
วิธีเลือกผ้าห่อตัวทารกแรกเกิด
- เลือกผ้าที่เบาสบาย อากาศถ่ายเทงาน
- ผ้าไม่หนาหรือบางเกินไป ไม่ระคายเคืองผิว
- เนื้อผ้านุ่ม ไม่มีขนผ้าฟุ้งกระจายหรือหลุดง่าย